ศัพท์เฉพาะในการทำแถบม้วนสติกเกอร์และฉลากสินค้าสำหรับแพคเกจจิ้งของคุณ


          

          ป้ายแบบสั่งทำนั้น เป็นตัวสื่อที่ใช้ได้หลากหลาย อุตสาหกรรมหลากหลายรูปแบบต่างก็ใช้มันในหลากหลายรูปแบบนับไม่ถ้วน แต่ประโยชน์ที่ทุกคนนิยมใช้ ก็คือนำมันไปใช้ในการโปรโมทธุรกิจ โดยเฉพาะการทำแบรนดิ้ง หรือสร้างยี่ห้อนั่นเอง และในหลายๆกรณีที่ฉลากนั้นจะเป็นสิ่งแรกๆที่ดึงดูดลูกค้าของคุณให้รู้จักยี่ห้อของคุณ ศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการทำสติกเกอร์เหล่านี้อาจฟังดูแปลกและยากต่อการเข้าใจ โดยเฉพาะเมื่อมันมีสติกเกอร์หลากหลายชนิด สต๊อคของมัน และยังมีวิธีพิมพ์อีก ดังนั้นเราจึงได้รวมรวมคำศัพท์ต่างๆมาเพื่อทำให้คุณเข้าใจสติกเกอร์ ฉลาก และ รูปลอกได้ดีขึ้น

รูปแบบฉลาก



ฉลากแบบตัดตามขนาด : ฉลากเหล่านี้จะมาเป็นชิ้นต่อชิ้น อยู่บนกระดาษที่พร้อมลอกให้ติดได้ในทันที

ฉลากแบบม้วน : ฉลากแบบนี้จะพิมพ์บนวัสดุที่ยาวต่อเนื่องกัน แล้วพันเข้ากับแกนให้เป็นม้วน ฉลากแบบม้วนนี้สามารถสั่งทำได้ในกระดาษหลากหลายชนิดและรูปร่างต่างกันไปได้


คำศัพท์เกี่ยวกับวัสดุที่ใช้

กระดาษ : สติกเกอร์และฉลากนั้น สามารถพิมพ์ลงบนกระดาษที่ไวต่อการกด และมีประโยชน์ใช้สอยที่หลากหลาย แต่สลากกระดาษนี้จะขาดได้ง่ายและยุ่ยหากสัมผัสกับความชื้นเป็นเวลานาน สลากกระดาษนี้ก็มีหลากหลายชนิด (เช่น กระดาษมัน กระดาษเคลือบ ฯลฯ)

ไวนิล : ไวนิลนั้นจะคงทนกว่าชนิดกระดาษ เหมาะสำหรับการใช้ภายนอกอาคาร สติกเกอร์ไวนิลนั้นขาดยากและจะยืดออกเมื่อโดนดึง เราสามารถเลือกสีไวนิลได้หลากหลาย แต่ส่วนใหญ่แล้วจะนิยมเป็นสีขาว สีเหลือง หรือแบบใส

“โพลี่” (โพลี่โพรไพลีน โพลิเอสเตอร์ ฯลฯ) : สติกเกอร์และรูปลอกนั้น สามารถพิมพ์ลงบนวัสดุสังเคราะห์ที่ไวต่อแรงกดดัน ซึ่งมักจะถูกเรียกย่อสั้นๆว่า “โพลี่” สติกเกอร์โพลี่นั้น จะคงทนพอๆกับไวนิลและมาในหลากหลายรูปแบบการเคลือบได้เช่น สีขาว แบบใส คล้ายโลหะ และอื่นๆ

BOPP (Bi-Oriented Polypropylene): วัสดุโพลี่โพรไพลีนนี้ สามารถยืดได้ในแนวตั้งในช่วยที่กำลังผลิต การยืดนั้นทำไปเพื่อทำให้มั่นใจว่าวัสดุจะเรียบสนิท เหมาะสำหรับการทำสติ๊กเกอร์และรูปลอก

ฟอยด์: เป็นกระดาษที่ไวต่อแรงกดและเคลือบด้วยชั้นโลหะบางๆ มักจะมาในรูปแบบสีเงินและสีทอง แต่เพราะมันมีเบสมาจากกระดาษ ความคงทนของมันจะมีระดับเท่ากับสลากกระดาษทั่วไป และเหมาะสำหรับการใช้ในอาคารหรือใช้ระยะสั้นเท่านั้น

ไวนิลแบบทำลายง่าย : เป็นไวนิลแบบพิเศษที่มีหน้าที่ป้องกันการถูกเลาะออกและป้องกันการโดนย้าย หากพยายามที่จะนำมันออก มันจะขาดในทันที

เคลือบUV : สติกเกอร์และสลากมักจะถูกเคลือบด้วยสารเคลือบป้องกันUV การเคลือบแบบนี้จะทำให้สิ่งพิมพ์ดูเงาขึ้น และปกป้องสติกเกอร์ได้มากขึ้น เคลือบUVบางชนิดนั้นมีไว้เพื่อป้องกันรอยเท่านั้น ในขณะที่เคลือบUVบางชนิดมีเอาไว้ป้องกันการเลือนจากโดนแสงแดด

แบบลอกแผ่น : เป็นวัสดุโพลี่ที่มีความยืดหยุ่นอยู่ด้านเดียว ซึ่งจะใช้ประกบบนสติกเกอร์ที่พิมพ์ออกมาเพื่อเพิ่มความคงทน ซึ่งมันจะช่วยปกป้องสติกเกอร์จากความชื้นและกันรอย มีขนาดความหนาและรูปแบบหลายรูปแบบ รูปแบบที่นิยมที่สุดคือแบบเคลือบเงา

ตัวรอง/กระดาษรอง/ตัวรองข้างหลัง : วัสดุนี้มีไว้สำหรับให้สติกเกอร์ติดไว้ก่อนที่จะใช้งาน กระดาษรองนี้มักจะมีสีขาวหรือสีคราฟท์ และอีกด้านจะเป็นมีรูปคลื่น ไว้ให้สติกเกอร์เกาะ กระดาษรองนั้นมีหลากหลายความหนา และมักจะถูกพิมพ์ทับลงไปเลย

แผ่นลอกหลัง/แบบพร้อมลอก : กระดาษรองถูกตัดออกมาเข้ารูปสติกเกอร์พอดีโดยไม่กินพื้นที่เข้าไป ทำให้สามารถแกะได้ง่ายขึ้นและสะดวกมากขึ้น มักจะถูกพิมพ์ทับไปเลย


ศัพท์สำหรับรูปแบบการพิมพ์

ดิจิตัล : เครื่องพิมพ์แบบดิจิตัลรูปแบบใหม่นั้นสามารถใช้งานได้หลากลาย และสามารถพิมพ์บนวัสดุทำสติกเกอร์ได้หลายชนิด และเครื่องพิมพ์ดิจิตัลบางเครื่องยังมีหมึกสีขาวสำหรับพิมพ์บนวัสดุสี โลหะ หรือวัสดุใส โดยส่วนใหญ่แล้วมันจะสามารถพิมพ์สีที่คมเข้มและภาพที่คมชัดและรายละเอียดสูงได้

การพิมพ์แบบเฟล็กโซกราฟิค/แบบสีจำเพาะ : การพิมพ์ชนิดนี้เหมาะสำหรับกราฟิคแบบเรียบง่ายเนื่องจากเครื่องถูกออกแบบตัวพิมพ์มาให้พิมพ์แยกสีกัน ตัวพิมพ์พวกนี้มีชื่อว่า เฟล็กโซกราฟิค (เฟล๊กโซ) และจะกดลงโดยใช้แผ่นยางที่หุ้มบนลูกกลิ้งทรงกระบอกเพิ่มพิมพ์แต่ละสี มักจะใช้ในการพิมพ์สติกเกอร์หรือฉลากแบบม้วน แต่บางครั้งก็สามารถใช้กับแบบตัดตามขนาดได้ด้วยเครื่องตัด

การพิมพ์แบบออฟเซ็ต : สติกเกอร์บางส่วนจะถูกพิมพ์โดยลูกกลิ้งแบบออฟเซ็ตเพื่อเพิ่มระดับรายละเอียดของภาพพิมพ์ มักจะให้ใช้กับงานที่ต้องใช้จำนวนมากเท่านั้น

การพิมพ์แบบสกรีน : เป็นวิธีในการพิมพ์แต่ละสีโดยใช้สกรีนตาข่ายไหมในการบล๊อคสารที่ไวต่อแสงเพื่อที่จะให้หมึกไหลผ่านช่องว่างเพื่อทำให้เกิดภาพเฉพาะขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถพิมพ์หมึกที่คงทนต่อUVและหมึกสีโลหะได้ ทำให้สติกเกอร์นั้นคงทนได้นานขึ้น

พิมพ์แบบจับคู่แพนโทน (ระบบPMS) : โดนจะจับคุ่สีหมึกกับสีเฉพาะจากสีภายในคลังสีแพนโทน มักใช้ในการทำแบรนดิ้งเสียส่วนใหญ่

ครึ่งโทน : สติกเกอร์ที่พิมพ์แบบเฟล็กโซกราฟิคและแบบสกรีนสามารถทำให้ดูสว่างขึ้นได้โดยการพิมพ์จุดสีที่เล็กลงเป็นแบบกริด


ศัพท์เกี่ยวกับการตกแต่งขึ้นสุดท้ายศัพท์เหล่านี้คือวิธีทั่วไปในการตัดและจัดแพ็คสติกเกอร์และสลากต่างๆ

ตัดตรง/แบบสี่เหลี่ยม : สติกเกอร์ที่ตัดโดยการใช้ใบมีดตรง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทั้งแบบจัตุรัสและแบบผืนผ้า จะเป็นมุมแหลมเสมอ

ไดคัท : การตัดแบบไดคัท คือการตัดที่ใช้มีดที่มีรูปร่างพิเศษสำหรับการตัดสติกเกอร์และสลากที่มีรูปร่างเฉพาะตัวให้เข้ารูป

คิสคัท : ใช้วิธีเดียวกับแบบไดคัท ซึ่งจะใช้มีดรูปร่างพิเศษที่ไว้ใช้ตัดตามรูปร่างสติกเกอร์เฉพาะ แต่จะไม่ตัดทะลุไปถึงกระดาษรอง ดังนั้น หากตัดแบบคิสคัทแล้วนำมาตัดแบบสี่เหลี่ยม จะสามารถลอกสติกเกอร์ออกมาตามรูปร่างได้ และจะเหลือสติกเกอร์ส่วนที่เหลืออยู่บนกระดาษรอง

ตัดมุมมน : คือสติกเกอร์แบบตัดตรง แล้วตัดมุมให้มนลง โดยจะตัดไล่ไปทีละมุม ในบางครั้งการใช้วิธีไดคัทก็สามารถทำให้ออกมามีผลลัพท์เหมือนกันได้


แหล่งที่มา
http://blog.jakprints.com/2015/05/sticker-terminology.html
http://www.uprinting.com/blog/a-visual-guide-for-printing-custom-labels